ป่วยโควิดไม่มีอาการ ใครว่าไม่อันตราย วันนี้ KWI จะพามาทำความรู้จักกับ ภาวะ Happy Hypoxia หรือมีชื่อเรียกภาษาไทยว่า ภาวะพร่องออกซิเจนแบบไม่แสดงอาการจากการติดเชื้อโควิด19 มาทำความเข้าใจสภาวะนี้กันว่า คนกลุ่มไหนบ้างที่อาจเป็นได้ รวมถึง อาการ และวิธีการเฝ้าระวัง เมื่อตนเองหรือคนใกล้ตัวมีอาการของภาวะ Happy Hypoxia กันค่ะ
ที่มาของข้อมูล : vichaivej
สันนิษฐานว่าเกิดจากการที่เชื้อไวรัส โควิด19 เข้าสู่ร่างกายผ่านทางโพรงจมูก และไปทำให้ศูนย์ควบคุมการหายใจของสมองทำงานผิดปกติ หรือเกิดจากการที่ไวรัส โควิด19 เข้าสู่ร่างกายทางกระแสเลือด ผ่านไปยังสมอง ทำให้สมองส่วนนั้นผิดปกติและไม่รับรู้ว่าร่างกายกำลังขาดออกซิเจนอยู่ ส่งผลให้ร่างกายไม่มีอาการผิดปกติเหมือนกับคนที่ไม่ป่วย
- กลุ่มผู้สูงอายุ ปัจจุบันพบในผู้ที่มีอายุ 56 ปีขึ้นไป
- กลุ่มคนที่มีน้ำหนักตัวมากหรือป่วยเป็นโรคอ้วน
- ผู้ที่มีโรคทางสมอง เช่น โรคสมองเสื่อม หรือโรคสมองขาดเลือด
- การรับรู้ตัวลดลง ตอบสนองต่อสิ่งเร้าช้า เช่น เรียกชื่อแล้วรู้สึกตัวช้า
- ผิวหนังซีด หรือเป็นสีเขียวคล้ำ
- ไอ คลื่นไส้อาเจียน หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ
- วิงเวียนหรือปวดศีรษะ
- มีเหงื่อออกมาก รู้สึกร้อน ๆ หนาว ๆ วูบวาบตามตัว มือเท้าชา
- หายใจลำบาก ถี่ หรือมีเสียงหวีด
- รู้สึกกระสับกระส่าย กระวนกระวาย
- ตาพร่ามัว สับสน มึนงง ซึม
ดังนั้น หากสังเกตแล้วพบอาการบ่งชี้ข้างต้น หรือพบว่าระดับออกซิเจนต่ำกว่าปกติแม้ไม่มีอาการ ก็ควรรีบนำตัวไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยและรักษาทันที
แนวทางในการสังเกตอาการของภาวะ Happy Hypoxia
เนื่องจากภาวะนี้ จะไม่พบอาการผิดปกติเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจใด ๆ เช่น การเหนื่อยหรือหายใจลำบาก เพราะฉะนั้นการที่จะรู้ได้ว่าเกิดภาวะนี้ขึ้น คือ การใช้เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้วที่จะช่วยบอกอาการหรือสันนิษฐานได้ว่าเกิดภาวะดังกล่าว ยกตัวอย่าง เช่น ร่างกายไม่แสดงอาการโควิด 19 หรือแสดงอาการน้อย แต่เมื่อวัดค่าออกซิเจนพบว่าค่าออกซิเจนต่ำกว่าปกติ
ซึ่งโดยปกติระดับออกซิเจนในเลือด จะอยู่ที่ประมาณ 95-100% แต่ถ้าต่ำกว่า 90% แสดงว่าเริ่มมีภาวะพร่องออกซิเจนเกิดขึ้น
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ หรือการรับควันบุหรี่
- ดื่มน้ำเปล่าสะอาดมาก ๆ ให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
- รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบ 5 หมู่
- หมั่นตรวจระดับออกซิเจนในเลือด ด้วยเครื่องวัดออกซิเจนในเลือด
- พยายามหลีกเลี่ยงการอยู่บนที่สูงมาก ๆ หรือหลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ที่อากาศเบาบาง
- นอนหนุนหมอนสูง หรือปรับฟังก์ชันเตียงให้อยู่ในท่าศีรษะสูง เพื่อให้กระบังลมเคลื่อนต่ำลง ปอดขยายตัวได้เต็มที่
แม้สถานการณ์ โควิด19 ในประเทศไทยจะผ่านมานานหลายปีแล้ว แต่โควิด19 ก็ยังเป็นโรคที่ทุกๆ คนควรเฝ้าระวังและจับตามอง ทำความเข้าใจในโรคและอยู่กับมันให้เป็น เพราะความเป็นจริงแล้ว โควิด19 ไม่ใช่โรคที่น่ากลัวและร้ายแรงอย่างที่คิด เป็นได้ก็สามารถรักษาให้หายได้
เพิ่มความอุ่นใจด้วย ประกันสุขภาพ ฟินชัวรันส์ ที่เคลมค่ารักษาโควิด คุ้มครองการแพ้วัคซีน และเลือกโรงพยาบาลได้จริง นอกจากนั้นยังคุ้มครองโรคอื่นๆ ที่ไม่ใช่โควิดได้ด้วย เพียงเดือนละ 1,337 บาทเท่านั้น คุ้มครองค่ารักษาสูงสุดถึง 10,000,000 บาท
สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับฟินชัวรันส์ ได้ที่ : https://www.kwilife.com/health
**โปรดศึกษาเงื่อนไขและข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจซื้อกรมธรรม์