เชื่อว่ามนุษย์เงินเดือนทุกคน ต้องมีการวางแผนจัดระเบียบทางการเงินกันอยู่แล้ว แต่เคยรู้กันบ้างไหมว่า เงินประกันสังคมที่เราจ่ายเข้ากองทุนประกันสังคมนั้น นอกจากจะได้รับสิทธิประโยชน์กรณีเจ็บป่วย ทุพพลภาพ คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ว่างงานหรือเสียชีวีตแล้ว เมื่อเกษียณอายุเราจะได้รับเงินเกษียณคืนจากกองทุนประกันสังคมในรูปเงินบำเหน็จ (เงินก้อน) หรือเงินบำนาญ (เงินรายเดือน) ด้วยเช่นกัน ส่วนรายละเอียดการรับเงินส่วนนี้จะเป็นอย่างไร มาทำความเข้าใจข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับกองทุนประกันสังคมกันก่อนครับ มาดูกันว่ามนุษย์เงินเดือน จะได้เงินเกษียณจากกองทุนประกันสังคมกันเท่าไร?
ที่มาของข้อมูล : moneybuffalo.in.th
เงินชราภาพ ประกันสังคม คืออะไร
เงินชราภาพประกันสังคม คือ เงินยามเกษียณของเหล่ามนุษย์เงินเดือน ผู้ประกันตนในกองทุนประกันสังคม โดยสะสมจากการทำงาน พูดง่ายๆ คือ เงินที่เราถูกหักค่าประกันสังคมในทุกๆ เดือน เป็นจำนวน 5% ของเงินเดือน (สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท) ตั้งแต่ 250 – 750 บาท โดยใน 5% นี้จะถูกแบ่งเป็น 3 ส่วน
ส่วนที่1 สมทบกองทุนดูแลเรื่อง เจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุ / ทุพพลภาพ / คลอดบุตร และเสียชีวิต จำนวน 1.5% หรือ 225 บาท ถึงแม้ไม่ใช้สิทธิก็ไม่ได้รับเงินคืน
ส่วนที่2 เก็บเป็นเงินออมกรณีสงเคราะห์บุตร / ชราภาพ จำนวน 3 % หรือ 450 บาท จะได้คืนเมื่ออายุครบ 55 ปี
ส่วนที่3 ใช้ประกันการว่างงาน จำนวน 0.5 % หรือ 75 บาท ถ้าว่างงานเมื่อไหร่ สามารถใช้สิทธิ์เพื่อเป็นรายได้ระหว่างตกงานหรือกำลังหางานใหม่ หากไม่ใช้สิทธิ์ก็จะไม่ได้รับเงินคืน
*เงินทุกเดือนที่เราจ่ายประกันสังคมไป หากเราจ่ายเงินสมทบในอัตราสูงสุดที่ 750 บาทต่อเดือน เงินจำนวน 450 บาท จะถูกหักเข้าไปเป็นเงินออมชราภาพทันที เสมือนกองทุนประกันสังคม ช่วยทำหน้าที่เก็บออมเงินให้เรา
เงินชราภาพ เงินหลังเกษียณจากประกันสังคม
สาเหตุที่ต้องมีเงินชราภาพ ก็เพื่อเป็นหลักประกันว่าผู้ประกันตนที่มีอายุ 55 ปีบริบูรณ์ จะได้รับเงินบำเหน็จหรือเงินบำบาญไว้ใช้ยามชราภาพ เป็นสวัสดิการหลังเกษียณรูปแบบหนึ่ง
เงินชราภาพ ประกันสังคม ได้ตอนไหน ใครได้บ้าง
หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการได้รับสิทธิกรณีชราภาพโดยผู้ที่ได้รับแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 ผู้ประกันตนทั้ง 3 มาตรา (ม.33, ม.39, ม.40)
- ผู้ประกันตน มาตรา 33 และมาตรา 39 ต้องมีอายุ 55 ปีบริบูรณ์ และแจ้งสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน
- ผู้ประกันตน มาตรา 40 ต้องมีอายุมีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ และแจ้งสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตน หรือเมื่อเป็นผู้ทุพพลภาพ
กลุ่มที่ 2 ทายาทของผู้ประกันตนที่เสียชีวิต
- ลูก หรือ ลูกบุญธรรมที่ชอบด้วยกฏหมาย
- สามี-ภรรยา ที่ถูกต้องตามกฎหมาย
- บิดา-มารดา ที่มีชีวิตอยู่
จะได้รับเป็น เงินบำเหน็จชราภาพ หรือ เงินบำนาญชราภาพ
ผู้ประกันตนจะรู้ได้ยังไงว่า จะได้รับเงินชราภาพเป็น เงินบำเหน็จ หรือ เงินบำนาญ ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า 2 อย่างนี้ต่างกันยังไง
เงินบำเหน็จชราภาพ คือ เงินชราภาพที่ประกันสังคมจะจ่ายเป็นเงินก้อนครั้งเดียว
เงินบำนาญชราภาพ คือ เงินชราภาพที่ประกันสังคมจะจ่ายเป็นรายเดือนตลอดชีวิต หลังอายุ 55 ปี
เลือกได้ไหม? ว่าจะรับเงินบำเหน็จชราภาพ หรือ เงินบำนาญชราภาพ
คำตอบคือ ไม่สามารถเลือกได้ เพราะกองทุนประกันสังคมใช้ระยะเวลาส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมเป็นเกณฑ์การตัดสิน
ขอรับ เงินชราภาพ ประกันสังคมที่ไหน
ยื่นเอกสารแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม ได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขา ทั่วประเทศ และขอรับเงินชราภาพได้ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิรับเงินกรณีชราภาพ โดยห้ามเกินแม้แต่วันเดียว เพราะจะถูกตัดสิทธิ์รับเงินบำเหน็จ-บำนาญทันที
จะได้รับเงินชราภาพเมื่อไร หลังยื่นเอกสาร
เงินบำเหน็จชราภาพ จะได้รับภายใน 7-10 วันทำการ (ไม่นับวันหยุดราชการ) หลังจากได้รับการอนุมัติ
เงินบำนาญชราภาพ จะได้รับการเงินโอนเข้าบัญชีภายในวันที่ 25 ของเดือนถัดไป หลังจากได้รับการอนุมัติ
ขอรับเงินชราภาพได้ยังไง เอกสารหลักฐานที่ใช้มีอะไรบ้าง
- กรณีผู้ประกันตนขอคืนเงินชราภาพด้วยตัวเอง
แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ (สปส. 2-01)
สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์หน้าแรกที่มีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอฯ (กรณีขอรับเงินทางธนาคาร)
- กรณีทายาทขอรับสิทธิ์เงินชราภาพแทน
แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพ (สปส. 2-01)
สำเนามรณบัตรและสำเนาทะเบียนบ้านผู้ตาย
สำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้านของผู้มีสิทธิ์รับเงินชราภาพ
สำเนาทะเบียนสมรสของผู้ประกันตนและของบิดามารดา (ถ้ามี)
สำเนาสูติบัตรของบุตรหรือสำเนาทะเบียนบ้านของบุตร
หนังสือระบุให้เป็นผู้มีสิทธิ์รับเงินบำเหน็จชราภาพ (ถ้ามี)
สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์หน้าแรกที่มีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ยื่นคำขอฯ (กรณีขอรับเงินทางธนาคาร)
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน 1506 บริการ 24 ชั่วโมง Line@ssothai และทาง www.sso.go.th
วิธีคำนวณเงินบำนาญชราภาพ
เงินชราภาพ แบบบำนาญของประกันสังคมล่าสุด คือ เงินที่กองทุนประกันสังคมจ่ายให้ผู้ประกันตนเป็นรายเดือนตลอดชีวิต โดยมีวิธีคำนวณจำนวนเงินที่จะจ่ายแต่ละเดือน แบ่งเป็น 2 กรณี
กรณีที่ 1 จ่ายเงินสมทบครบ 180 เดือนหรือ 15 ปี
ผู้ประกันตนจะได้รับเงินรายเดือน เท่ากับ 20% ของรายได้เฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายก่อนสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน โดยใช้ฐานรายได้สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท และฐานรายได้ต่ำสุด 1,650 บาท หรือง่าย ๆ คือ ได้รับ 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย
สูตรการคำนวณเงินบำนาญชราภาพกรณีจ่ายครบ 180 เดือน
เงินบำนาญชราภาพกรณีจ่ายครบ 180 เดือน = (20x อัตราค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย) / 100
กรณีที่ 2 จ่ายเงินสมทบเกิน 180 เดือนหรือเกิน 15 ปี
กรณีนี้ นอกจากผู้ประกันตนจะได้รับเงินเดือนเท่ากับ 20% ของรายได้เฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายก่อนสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนแล้ว ยังได้บวกเพิ่มอีก 1.5% ของระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบทุก ๆ 12 เดือน (ไม่ครบ 12 เดือนปัดจำนวนเดือนที่เกินทิ้ง ไม่นับปีเพิ่ม)
โดยใช้ฐานรายได้สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท และฐานรายได้ต่ำสุด 1,650 บาทเช่นเดียวกัน หรือง่าย ๆ คือ ได้รับ 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย + 1.5% ทุก ๆ 1 ปีที่เกิน 60 เดือนแรก
สูตรการคำนวณเงินบำนาญชราภาพกรณีจ่ายเกิน 180 เดือน
เงินบำนาญชราภาพกรณีจ่ายเกิน 180 เดือน = [(20 + (1.5 x จำนวนปีส่วนเกิน 15 ปีหรือ 180 เดือน)) x อัตราค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย] / 100
สุขใจยามชรา การเงินไม่มีปัญหา ด้วยประกันออมทรัพย์ ออมคุ้ม ULTRA จาก KWI Life
การมีเงินชราภาพประกันสังคม เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่จะช่วยรับประกัน การเงินของชีวิตหลังการเกษียณนั้นของเรานั้น จะไม่หยุดชะงักจากการขาดรายได้ แต่ที่สำคัญคือไม่ควรลืมที่จะวางแผนด้านการเงินทางเลือกอื่นๆ เพื่อให้การเงินในวัยชรามั่นคงยิ่งขึ้น มาเตรียมตัวเกษียณจากการทำงานได้แบบอุ่นใจ ด้วยประกันออมทรัพย์ ออมคุ้ม ULTRA จาก เคดับบลิวไอ ประกันชีวิต ที่ออมสั้นเพียง 5 ปี คุ้มครองยาวถึง 10 ปี พร้อมผลตอบแทนรวมตลอดสัญญาสูงสุดถึง 555% และยังช่วยลดหย่อนภาษีสูงสุดถึง 100,000 บาท ทุกปีที่ชำระเบี้ยอีกด้วย
พิเศษ! สมัครวันนี้ รับโปรฯ ลดค่าเบี้ยปีละ 8% ทุกปี สมัครเลย!
สนใจดูรายละเอียด ออมคุ้ม ULTRA คลิก : https://www.kwilife.com/endowment-ultra
สอบถามข้อมูลประกันเพิ่มเติมโทร : 02-033-9000 (จันทร์ - ศุกร์ เวลา 08.30 – 19.00 น.)
“ผู้ซื้อควรทำความเข้าใจในรายละเอียด ความคุ้มครองและเงื่อนไขก่อนตัดสินใจทำ ประกันภัยทุกครั้ง”