ในปัจจุบันหากนับเฉพาะมะเร็งในผู้หญิง มะเร็งเต้านมถือเป็นความเสี่ยงเป็นอันดับ 1 โดยในแต่ละปีจะพบผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้นประมาณ 20,000 คนต่อปี หรือประมาณ 55 คนต่อวัน และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในทุกๆ ปี ถึงแม้อัตราการเสียชีวิตในประเทศไทยจะต่ำเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ แต่หากไม่สามารถตรวจพบตั้งแต่ระยะแรกอาจจะส่งผลร้ายสูงสุดถึงขั้นเสียชีวิตได้เช่นเดียวกัน
จากสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติพบว่าผู้หญิงเป็นมะเร็งเต้านมร้อยละ 37 ของมะเร็งทั้งหมด และยังมีอัตราการเสียชีวิตเป็นอันดับ 2 รองจากมะเร็งปอด ดังนั้นเราอยากให้ผู้หญิงไทยได้รู้จักกับมะเร็งเต้านมให้มากขึ้น เพื่อที่จะสามารถลดอัตราผู้ป่วยและอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งเต้านมนี้ได้
ที่มาข้อมูล wattanosothcancerhospital.com, phyathai.com, navavej.com, samitivejhospitals.com, petcharavejhospital.com
ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคมะเร็งเต้านมมีทั้งแบบที่สามารถควบคุมได้ และไม่สามารถควบคุมได้
1.ปัจจัยที่สามารถควบคุมได้ ได้แก่ การดื่มเหล้า สูบบุหรี่ การเลือกบริโภคอาหาร การทานยาคุมหรือยาจำพวกปรับฮอร์โมนต่างๆ การไม่ออกกำลังกาย หรือผู้ที่มีภาวะอ้วน
2.ปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ ยกตัวอย่างเช่น
-ประจำเดือนก่อนอายุ 12 ปี และ ประจำเดือนหมดหลังอายุ 55 ปี
-ผู้ที่ไม่มีบุตร
-คลอดลูกคนแรกช่วงอายุมาก
-เคยเป็นมะเร็งเต้านมหรือเนื้องอกที่เต้านม
-มีประวัติญาติสายตรง (แม่ พี่ น้อง) เป็นมะเร็งเต้านม
-มีการให้รังสีรักษาที่เต้านมหรือทรวงอก
-ทำแมมโมแกรมแล้วพบความผิดปกติ
ผู้หญิงหลายคนอาจจะกังวลว่าตัวเองมีแนวโน้มหรือมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมหรือไม่ แต่จริงๆ แล้วคุณผู้หญิงสามารถสังเกตตัวเองหรือสัญญาณเตือนต่างๆ ก่อนที่จะมะเร็งเต้านมจะลุกลามได้ โดยมีสัญญาณเตือนดังต่อไปนี้
นอกจากการตรวจสัญญาณเตือนมะเร็งเต้านมด้วยตนเองแล้ว คุณผู้หญิงสามารถเพิ่มความมั่นใจให้กับตัวเองได้ด้วยวิธีการตรวจที่แม่นยำ 4 วิธีดังต่อไปนี้
ข้อเท็จจริง: ในอดีตเคยจะมีหนังสือตีพิมพ์ว่า การสวมชุดชั้นในขณะนอนหลับจะเกิดการบีบรัดระบบน้ำเหลือง ทำให้ระบบน้ำเหลืองไหลเวียนไม่สะดวกและมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านม แต่ในปัจจุบัน ก็ยังไม่มีหลักฐานที่สามารถพิสูจน์เรื่องนี้ได้ ดังนั้น การสวมชุดชั้นในขณะหลับจึงไม่ได้เป็นการเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งเต้านมแต่อย่างใด
หากไม่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านมก็จะไม่เป็นมะเร็งเต้านม
ข้อเท็จจริง: เป็นความเชื่อที่ผิด เพราะมะเร็งเต้านมมีความสัมพันธ์กับพันธุกรรมประมาณ 10% และในปัจจุบันมะเร็งเต้านมมักเกิดขึ้นเองมากกว่าเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม
ผู้หญิงที่มีเต้านมเล็กมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมน้อยกว่าผู้หญิงที่มีเต้านมใหญ่
ข้อเท็จจริง: ปัจจัยเรื่องของขนาดไม่ได้มีผลต่อการเกิดมะเร็งเต้านม หมายความว่า ผู้หญิงที่มีเต้านมเล็กหรือใหญ่ มีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมได้เท่าๆ กัน
การทำแมมโมแกรมบ่อย ๆ เสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม
ข้อเท็จจริง: เรื่องนี้ยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ยืนยันแน่ชัด โดยรังสีที่ใช้ในการตรวจแมมโมแกรมมีปริมาณน้อยถึงน้อยมาก รวมทั้งการตรวจแมมโมแกรมเพียงปีละ 1 ครั้ง ไม่ได้มีอันตรายหรือเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านมแต่อย่างใด
ที่มาของข้อมูล : wattanosothcancerhospital.com
หากมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งเต้านมสักเล็กน้อย เราก็ยังพอมีโอกาสในการป้องกันและตรวจพบเนื้อร้ายก่อนที่สายจะเกินไป นอกจากนั้นควรมีการเตรียมตัวในเรื่องค่าใช้จ่ายเพราะค่ารักษาพยาบาลโรคมะเร็งในปัจจุบันถือว่าค่อนข้างสูงเลยทีเดียว อาจจะสร้างภาระให้กับใครหลายๆ คน
ดังนั้นตัวช่วยอย่าง “ประกันมะเร็ง Cancer Can Go จาก คิง ไว ประกันชีวิต” จึงถือเป็นทางออกที่ตอบโจทย์ที่สุด ประกันมะเร็งที่คุ้มครองทุกระยะของโรคมะเร็ง คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลทันทีเมื่อตรวจเจอมะเร็งระยะไม่ลุกลาม และหากตรวจเจอมะเร็งในระยะลุกลามก็รับเงินก้อนเพิ่ม พร้อมวงเงินประกันสูงสุด 2 ล้านบาท แต่จ่ายเบี้ยเพียงหลักร้อยเท่านั้น แถมเบี้ยที่จ่ายไปก็ไม่สูญเปล่า เพราะ ไม่ว่าจะเจ็บป่วยหรือไม่ Cancer Can Go ก็มอบเงินคืนหลักแสนเมื่อครบกำหนดสัญญา เจ็บป่วยคนเดียวไม่ล้มทั้งบ้านแน่นอน
สนใจดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ประกันมะเร็ง Cancer Can Go ได้ที่ : https://www.kwilife.com/cancer
**โปรดศึกษาเงื่อนไขและข้อยกเว้นก่อนตัดสินใจซื้อกรมธรรม์